วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นศรีวิชัยยาชนะ พ.ศ.2539

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นศรีวิชัยยาชนะ พ.ศ.2539

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นศรีวิชัยยาชนะ สร้างในปี พ.ศ.2539 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ในการจัดสร้างอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ รอยต่อบริเวณถนนสายลี้-เถิน อ.ลี้ จ.ลำพูน โดยครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นผู้ตั้งชื่อรุ่นนี้ ว่า “ศรีวิชัยยาชนะ” พิธีพุทธาภิเษก วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2539 ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน

รายการวัตถุมงคลที่จัดสร้าง มี รูปเหมือนอนุสาวรีย์ เนื้อโลหะผสม มี 3 ขนาด คือ ขนาดสูง 19 นิ้ว สร้างตามสั่งจอง ขนาดสูง 9 นิ้ว สร้าง 499 องค์ ขนาดสูง 3.9 นิ้ว สร้าง 4,999 องค์ เหรียญพิมพ์รูปไข่ ชุดกรรมการ ชุดใหญ่ 5 กษัตริย์ (ทองคำ เงิน นวโลหะ ฝาบาตร และทองแดง) จำนวนสร้างตามสั่งจอง ชุดกรรมการ ชุด 4 กษัตริย์ (เงิน นวโลหะ ฝาบาตร และทองแดง) สร้าง 499 ชุด เนื้อเงิน สร้าง 499 เหรียญ นวโลหะ สร้าง 999 เหรียญ ฝาบาตร สร้าง 7,999 เหรียญ ทองแดง สร้าง 9,912 เหรียญ เหรียญพิมพ์รูปบัวสิบเอ็ดดอก ชุดกรรมการ ชุดใหญ่ 5 กษัตริย์ (ทองคำ เงิน นวโลหะ ฝาบาตร และทองแดง) จำนวนสร้างตามสั่งจอง ชุดกรรมการ ชุด 4 กษัตริย์ (เงิน นวโลหะ ฝาบาตร และทองแดง) สร้าง 499 ชุด เนื้อเงิน สร้าง 499 เหรียญ นวโลหะ สร้าง 999 เหรียญ ฝาบาตร สร้าง 7,999 เหรียญ ทองแดง สร้าง 9,912 เหรียญ

สำหรับวัตถุมงคลประเภทเหรียญ ที่มี 2 แบบ ลักษณะคือ แบบเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปครูบาเจ้าศรีวิชัย รูปครึ่งองค์ แบบห่มคลุมผ้าจีวร หลังเหรียญยันต์ด้านหลังแถวบนสุดเรียกว่ายันต์พระเจ้าห้าพระองค์ และ แบบที่สองคือเหรียญบัวสิบเอ็ดดอกด้านหน้าเป็นรูปครูบาเจ้าศรีวิชัยนั่งขัดสมาธิ หลังเหรียญยันต์ด้านหลังเรียกว่ายันต์กระบองไขว้ ด้านหลังของเหรียญทั้งสองแบบเขียนไว้ว่า “รุ่นสร้างอนุสาวรีย์ศรีวิชัยยาชนะ 11 มิ.ย.39 วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน” จุดพิจารณาที่สำคัญคือ โค้ดรูปตัวอักษรไทย เลข ๙ ที่ตอกไว้หลังเหรียญ โดยชุดกรรมการจะมีหมายเลขแต่ละชุดกำกับไว้ ด้วยอักษรตัวเลขไทยเช่นกัน พบว่าส่วนใหญ่ชุดกรรมการจะตอกโค้ดเลข ๙ กำกับไว้จำนวน 2 ตัว แต่บางครั้งก็พบว่าเหรียญชุดกรรมการ ตอกโค้ด ๙ ไว้ตัวเดียวก็มี การแยกเหรียญแต่ละเนื้อ พิจารณาจากตำแหน่งที่ตอกโค้ด เลข ๙ เหรียญเนื้อทองคำตอกสองโค้ดบริเวณด้านบนซ้าย-ขวา เหรียญเนื้อเงินตอกโค้ดบริเวณด้านล่างขวา นวโลหะตอกบริเวณด้านล่างซ้าย เนื้อฝาบาตรตอกโค้ดบริเวณด้านบนขวา เนื้อทองแดงตอกโค้ดบริเวณด้านบนซ้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น